อยากรู้ไหม พอดใช้แล้วทิ้ง ต้นทุนผลิตเท่าไหร่?

เป็นอีกเรื่องนึงที่แอดบังอยากจะแชร์ เพราะตัวแอดเองมีประสบการณ์กับการถูกทาบทามไปเป็นนักผสมพัฒนากลิ่นในโรงงานผลิตพอดแบรนด์ดังแบรนด์นึงขึ้นต้นด้วยตัว L (แอดปฏิเสธไป) และได้ศึกษากระบวนการผลิตว่าต้นทุนที่ใช้มันเท่าไหร่กัน แอดจึงมีโอกาสได้รู้ต้นทุนผลิตของโรงงานในการดีลธุรกิจนี้

บทความนี้จะมาเจาะลึกแบบเบื้องลึกเบื้องหลังกันเลย ตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึงมือผู้บริโภคอย่างเราเนี่ย ต้องผ่านอะไรบ้าง อย่างที่เราเคยได้ยินติดหูกันมาว่า “สินค้าเปลี่ยนมือ มีกำไรแน่นอน” เราจะมาเรียนรู้กันว่ามันผ่านการเปลี่ยนมือ อุปสงค์ อุปทาน ในกระบวนการตลาดอย่างไรบ้าง บวกกำไรมากี่บาท ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง แล้วเราต้องเสียเงินเหล่านั้นไปกับ ต้นทุนจริงๆเท่าไหร่? บทความนี้มีคำตอบ

ต้นทุนการผลิตในโรงงาน

ต้นทุนหลัก (ประมาณ 40-80 บาทต่อชิ้น)

  • วัสดุ:
    • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (300-500 mAh): 10-20 บาท
    • ชิปควบคุมและเซ็นเซอร์: 5-15 บาท
    • น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า (e-liquid): 10-20 บาท (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของนิโคตินและกลิ่น) (ปริมาณราว 10-20ml)
    • ตัวเครื่อง (พลาสติก/โลหะ): 10-20 บาท
    • คอยล์และสำลี: 5-10 บาท
    • บรรจุภัณฑ์: 5-10 บาท
  • แรงงานและเครื่องจักร:
    • ค่าแรงในประเทศจีน (แหล่งผลิตหลัก) ต่ำกว่าไทย 2-3 เท่า โดยเฉลี่ย 5-10 บาท/ชิ้น
    • ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร

รวมต้นทุนในโรงงาน: ประมาณ 50-90 บาทต่อชิ้น

ต้นทุนโลจิสติกส์และภาษีนำเข้า

โลจิสติกส์ (ประมาณ 10-20 บาท/ชิ้น)

  • ค่าขนส่งจากจีนมาไทย (แบบ Bulk หรือผ่านตัวแทน):
    • ตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่มีค่าเฉลี่ย 5-10 บาท/ชิ้น
    • ค่าขนส่งภายในประเทศ (ไทย): 2-5 บาท/ชิ้น

ภาษีนำเข้าและค่าดำเนินการ (5-15 บาท/ชิ้น)

  • แม้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายในไทย แต่มีต้นทุนค่าธรรมเนียม “พิเศษ” ที่เรียกเก็บจากการลักลอบเข้า เช่น การจ่ายให้เจ้าหน้าที่หรือผู้อำนวยความสะดวก

รวมโลจิสติกส์และภาษี: ประมาณ 10-35 บาทต่อชิ้น

ต้นทุนการตลาดและการกระจายสินค้า

ดังนั้นพ่อค้าคนกลาง ร้านค้ากลางจะรับสินค้ามาราวๆ (90-130 บาท/ชิ้น) เพื่อกระจายขายส่งไปยังร้านค้าปลีก

  • ผู้ค้าส่ง: มักรับสินค้าในราคาประมาณ 90-130 บาท/ชิ้น จากโรงงาน
  • ผู้ค้าส่ง: บวกกำไรเพิ่มประมาณ 50-100% จากราคาโรงงาน เปอร์เซ็นกำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนการซื้อของผู้ค้าปลีก (สั่งเยอะลดราคาลดลงอีก) (ราคาขายส่งจึงอยู่ที่ราว 160-250 บาท)
  • ผู้ค้าปลีก: มักรับสินค้ามาที่ราวๆ 150-240 บาท จากผู้ค้าส่ง (สั่งเยอะก็ได้ถูกลงอีก) และบวกกำไรเพิ่มอีก 100-200% ในราคาปลีกท้ายสุด
  • ผู้บริโภค: ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเราจึงรับมาในราคาราวๆ 220-350 บาท

สรุปกระบวนการ

ประเภทรายละเอียดต้นทุน/ราคา (บาท)
โรงงานผลิตต้นทุนการผลิตสินค้าโดยตรง (รวมวัสดุและแรงงาน)50-90
ผู้ค้าส่ง รับสินค้าจากโรงงานในราคาประมาณ 90-130 บาท/ชิ้น
บวกกำไร 100% (ราคาขายส่ง: 160-250 บาท)
ราคาสุดท้ายขึ้นกับจำนวนที่ผู้ค้าปลีกสั่ง
90-130
ผู้ค้าปลีก รับสินค้าจากผู้ค้าส่งในราคาประมาณ 130-240 บาท/ชิ้น
บวกกำไร 100-200% (ราคาขายปลีกอยู่ที่ 220-350 บาท)
130-350
ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาขายปลีก220-350

หมายเหตุ : หากคำนวนผิดพลาดประการใดขออภัย เป็นเพียงแค่ตัวเลขโดยประมาณการ

ถาม!!

หากมองดีๆ กระบวนการตลาดตั้งแต่ต้นจนปลายทาง เป็นเรื่องปกติและธรรมชาติของสินค้าทั่วไปตามระบบอุปทาน กินกันเป็นห่วงโซ่อาหาร แต่ไฮไลท์สำคัญ คุณต้องดูเลย

แอดบังอยากจะไฮไลท์ตัวหนาๆเลยว่า ต้นทุนน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า 10-20 บาท เรากำลังเอาร่างกายไปเสี่ยงกับน้ำยาราคา 20 บาทจริงๆเหรอ??

เปรียบเทียบ พอดใช้แล้วทิ้งในตลาด กับ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า Madcow แบบไหนคุ้มค่ากว่า?

อยากรู้ไหม พอดใช้แล้วทิ้ง ต้นทุนผลิตเท่าไหร่?

ในยุคที่บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นกระแสนิยม “พอดใช้แล้วทิ้ง” ถือเป็นตัวเลือกยอดฮิตของหลายคน ด้วยความสะดวกสบายและใช้งานง่าย แต่จากการที่เราดูต้นทุนผลิตกับน้ำยาราคา 10 บาท อะเอาแบบ เกรดดีๆเลย ตีไป 20 บาทก็ได้เอา

แอดบังจึงอยากให้ผู้บริโภคเห็นภาพรวมและการตัดสินใจในเรื่องของราคาและคุณภาพ “เราซื้อของเพราะมองเพียงแค่ตัวเลขที่น้อยจนเคยชิน” การที่เราจะฉลาดบริโภคเราจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการตลาดอย่างลึกซึ้ง

1. ต้นทุนและราคา

  • พอดใช้แล้วทิ้งในตลาด:
    ราคาเฉลี่ยต่อชิ้นอยู่ที่ 300-350 บาท ใช้งานได้ประมาณ 2-4 วัน (ประมาณ 10-20ml น้ำยา) โดยต้นทุนการผลิตน้ำยาต่อชิ้นต่ำมาก เพียง 5-10 บาท
  • Madcow Eliquid:
    ราคาจำหน่าย 900 บาท ขนาด 100ml ใช้งานได้ยาวนานถึง 20-30 วัน ต้นทุนผลิตอยู่ที่ 500 บาท ถ้าเทียบปริมาณเท่ากันคือ 20ml ในราคา 240 บาท ต้นทุนคือ 120 บาท ซึ่งรวมวัตถุดิบคุณภาพนำเข้าจากยุโรป

2. ความคุ้มค่าต่อการใช้งาน

  • พอดใช้แล้วทิ้ง:
    หากใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน คุณอาจต้องใช้พอด 5-10 ชิ้น รวมค่าใช้จ่ายราว 1,800-3,500 บาท
  • Madcow Eliquid:
    น้ำยาขวดเดียวใช้งานได้ตลอดทั้งเดือน เฉลี่ยค่าใช้จ่ายเพียง 900 บาท หรือประมาณ 30-45 บาทต่อวัน

3. กำไรส่วนต่าง

  • พอดใช้แล้วทิ้ง:
    ราคาขายปลีกคือ 300-350 บาท ที่มีปริมาณความจุน้ำยาที่ 20ml คิดเป็นต้นทุนจริง 90 บาท(รวมทุกกระบวนผลิตแล้ว) กำไรส่วนต่างก็คือ 260 โดยเค้กก้อนนี้ แบ่งกันระหว่าง ผู้ค้าขายส่ง และ ผู้ค้าขายปลีก
  • Madcow Eliquid:
    ราคาขายปลีกในน้ำยาขนาด 20ml คือ 240 บาท คิดเป็นต้นทุนจริง 100 บาท กำไรคือ 140 บาท โดยเค้กก้อนนี้แอดบังกินคนเดียว เพราะไม่ได้ผ่านพ่อค้ากลาง

4. คุณภาพและความปลอดภัย

  • พอดใช้แล้วทิ้ง:
    วัตถุดิบที่ใช้มักเป็นเกรดต่ำเพื่อประหยัดต้นทุน ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับส่วนผสม และผลิตจำนวนมากเพื่อการตลาดที่รวดเร็ว
  • Madcow Eliquid:
    ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงนำเข้าจากยุโรป พร้อมกระบวนการผสมแบบ HandCrafted เพื่อความปลอดภัยเนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลวัตถุดิบที่ผสม และประสิทธิภาพในการใช้งาน

สรุป: แบบไหนคุ้มค่ากว่า?

หากคุณมองหาความสะดวกสบาย หาซื้อง่าย น้ำยาหวานเจี๊ยบ เย็นฉ่ำๆจี๊ดขึ้นสมอง พอดใช้แล้วทิ้งอาจตอบโจทย์ แต่หากต้องการความคุ้มค่าในระยะยาว น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า Madcow Eliquid ไม่เพียงช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังให้คุณภาพและความปลอดภัยที่สูงกว่า พร้อมความคุ้มค่า และได้ใช้สินค้าที่มีคุณค่าสูง

แล้วคุณล่ะ? จะเลือกอะไร ระหว่างความสะดวกชั่วคราว หรือคุณภาพที่ยั่งยืน? / คุณอยากให้เค้กก้อนนี้ที่เป็นกำไรส่วนต่าง อยู่ได้กับแอดบัง หรือ พ่อค้าคนกลาง?

“น้ำยา Madcow ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อขายส่ง เพื่อขายเอาจำนวน แต่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานโดยตรง”


ชอบเนื้อหาของเรา Madcow E-liquid ใช่มะ

ติดตามเรา เพื่อไม่พลาดเนื้อหาดีๆ ส่งตรงถึงอีเมล์ของคุณ

madcow footer
เว็บ MadcowEliquid นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ในการเยี่ยมชมเว็บไซต์

ชอบเนื้อหาของเรา Madcow E-liquid ใช่มะ

กด Subscribe เพื่อไม่พลาดเนื้อหาสาระดีๆ ส่งตรงถึงอีเมล์คุณ

อ่านต่อ..