หากคุณเป็นนักสูบบุหรี่ไฟฟ้า สิ่งนึงที่เราใช้ควบคู่กับการสูบนั่นก็คือ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หากทุกคนเรียนรู้วิธีการใช้งานกับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะ มอตยิงสด กล่องยิงสด หรือ พอตไฟฟ้า แล้ว ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ น้ำยาบุหรี่ ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับน้ำยาบุหรี่เป็นสิ่งที่คุณควรต้องรู้และศึกษา เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
บทความนี้จะมาพูดถึงสิ่งสำคัญ 11 เรื่องเกี่ยวกับ น้ำยาบุหรี่ ที่คุณควรรู้เอาไว้
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คือ น้ำยาที่ใช้ประกอบกับเครื่องบุหรี่ไฟฟ้า ที่ผ่านความร้อนจากคอลย์ลวดบุหรี่ จนเกิดเป็นไอน้ำ ที่มีกลิ่น และรสชาติ ความเย็น รวมถึงความรู้สึกแน่นปอด จากสารนิโคติน ที่ได้ความรู้สึกทดแทนบุหรี่มวน และยังสามารถควบคุมปริมาณนิโคตินได้ด้วยตนเองอีกด้วย
โดยน้ำยามีมากมายหลายแบบที่ขายบนท้องตลาดบ้านเรา มีแบ่งแยกเป็นสาย เช่น สายผลไม้ สายขนม และ สายยาสูบ ในแต่ละสายก็มีกลิ่นให้เราเลือกใช้หลากหลายมากมาย เพราะมันน้ำยาบุหรี่นั้นใช้หัวกลิ่นผสมอาหาร เป็นตัวสร้างกลิ่นและรสชาติของน้ำยา เปรียบเสมือนการปรุงรสชาติของอาหารที่เราบริโภคกัน
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ในน้ำยาบุหรี่นั้น มีส่วนผสมประกอบหลัก ที่ปลอดภัยต่อร่างกายทั้งสิ้น ยกเว้นสารนิโคติน มีทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกัน ดังต่อไปนี้
- หัวกลิ่นผสมอาหาร (Flavourings) เป็นส่วนประกอบหลัก ที่ทำให้เกิดกลิ่นของน้ำยาบุหรี่ โดยส่วนมากแล้วหัวกลิ่นผสมอาหารจะไม่มีรสชาติ หรือ จะมีรสเฝื่อนๆ ซึ่งเราต้อง
- สารให้ความหวาน (Sweetener) เป็นส่วนประกอบ ที่ทำให้เกิดความหวานกับรสชาติของน้ำยาบุหรี่ ยิ่งมีส่วนผสมนี้มาก ความหวานยิ่งมากและยิ่งรับรู้รสชาติได้ดียิ่งขึ้น
- สารนิโคติน (Nicitone) เป็นสารที่สกัดจากยาสูบ ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกมึนเมา และทำให้รู้สึกตื่นตัว มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท จัดอยู่ในประเภทสารเสพติดชนิดนึง
- สารให้ความเย็น (Cooling) เป็นสารที่ให้ความเย็นกับน้ำยา ทำให้ผู้สูบรู้สึกสดชื่น มักใช้ในน้ำยาบุหรี่สายผลไม้ต่างๆ ที่นิยมกันในปัจจุบัน
- สาร PG (Propylene glycol) เป็นสารทำละลายกับส่วนประกอบต่างๆในน้ำยาบุหรี่
- สาร VG (Vegetable glycerine) สารเคมีตามธรรมชาติที่ได้จากพืช มีความหวานเพียงเล็กน้อย และเป็นตัวทำควันของน้ำยาบุหรี่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำความรู้จักกับ สาร PG VG ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า เป็นอันตรายหรือไม่?
จากหัวข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า สารทุกอย่างล้วนเป็นธรรมชาติ และ ใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ และ อื่นๆอีกมากมาย อย่างแพร่หลาย และปลอดภัย มีเพียงสารนิโคตินเท่านั้น ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่หากว่าเราควบคุมปริมาณการสูบให้ลดลง ก็จะนำไปสู่การเลิกขาดจากบุหรี่มวนได้ในที่สุด
ปริมาณนิโคตินในน้ำยาบุหรี่
น้ำยาบุหรี่ที่ขายตามท้องตลาดนั้น มีปริมาณนิโคตินให้เราเลือกันหลากหลายมาก รวมถึง น้ำยาบุหรี่ไม่มีนิโคติน วางจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกของผู้สูบที่ไม่ต้องการรับสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย แต่ค่อนข้างหาซื้อได้ยาก เพราะกลุ่มลูกค้านี้มีจำนวนน้อย
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้สูบที่ต้องการบริโภคนิโคตินมากกว่า เพื่อทดแทนการอยากบุหรี่มวน โดยสารนิโคตินนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
- นิโคตินฟรีเบส (Freebase Nicotine) เป็นสารที่สกัดจากใบยาสูบ โดยใช้กระบวนการ freebasing โดยจะเป็นก้อนเกลือ (Salt) และใช้แอมโมเนียอัลคาไลน์ กำจัดโปรตอนของเกลือ และเพิ่มระดับ pH และปรับเปลี่ยนให้เป็น Freebase ที่เป็นนิโคตินบริสุทธิมากที่สุด แล้วนำมาทำละลายกับสาร PG ในอัตราส่วน 1000mg/ml
- ซอลนิโคติน (Salt Nicotine) เป็นการสกัดจากใบยาสูบเช่นกัน โดยใช้กระบวนการ Freebasing แล้วเป็นในรูปแบบก้อนเกลือ แต่มีข้อแตกต่างจาก Freebase Nicotine ก็คือ ซอลนิคจะไม่ได้ทำการใช้แอมโนเนียอัลคาไลน์กำจัดโปรตอนของเกลือออกไป แต่จะยังคงอยู่ในรูปแบบของเกลือเช่นเดิม แต่นิโคตินเกลือมีความเข้มข้นของนิโคตินสูง และทำให้เกิดอาการแทงคออย่างรุนแรง จึงต้องผสมกรด benzoic acid เพื่อลดอาการแทงคอ เพิ่มความนุ่มชุ่มคอ แล้วนำมาทำละลายกับสาร PG ในอัตราส่วน 250mg/ml ซึ่งซอลนิคนั้นมีราคาที่สูงกว่า นิโคตินฟรีเบส
ซึ่งปริมาณนิโคตินในน้ำยาบุหรี่นั้นในส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นระดับนิโคตินดังนี้
น้ำยาฟรีเบส | น้ำยาพอต หรือ น้ำยา Saltnic |
นิค0 | 20mg หรือ 8% |
นิค3 หรือ 3% | 30mg หรือ 12% |
นิค6 หรือ 6% | 40mg หรือ 16% |
นิค9 หรือ 9% | 50mg หรือ 20% |
นิค12 หรือ 12% | 60mg หรือ 24% |
หมายเหตุ : ค่า% คือปริมาณที่ใช้ในการผสมน้ำยา 1 ขวดตีเป็น 100%
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนหรือไม่?
เป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างมาก เกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งก็เหมือนกับการเมืองที่มีแบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย เพราะมีทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การหารข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะทั้งสองฝั่งจะให้ข้อมูลแบบ โจมตีกันไปโจมตีกันมา เนื่องจากมีผลประโยชน์แอบแฝง ดังนั้นเราผู้สูบบุหรี่ ควรต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในรายงานเรื่อง Estimating the Harms of Nicotine-Containing Products Using the MCDA Approach ที่เผยแพร่ในปี 2014 ได้บอกไว้ว่า
อาจไม่น่าแปลกใจเลย ที่บุหรี่มีปริมาณการใช้งานมากกว่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ บุหรี่มวนจึงจัดอยู่ในอันดับที่อันตรายที่สุด รองลงมาคือซิการ์ขนาดเล็กที่มีอันตรายถึงสองในสาม 4%
สาธารณสุขอังกฤษพบว่า
- การประเมินในปัจจุบันคือ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ มีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ประมาณ 95%
- เกือบครึ่งของประชากร (44.8%) ไม่รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่มาก
- จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานระบุว่า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์เป็นเส้นทางสู่การสูบบุหรี่สำหรับเด็กหรือผู้ไม่สูบบุหรี่
การประเมินข้อมูล ที่เผยแพร่ล่าสุดเกี่ยวกับการปล่อยสารพิษจากบุหรี่มวน และบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ได้คำนวณความเสี่ยงมะเร็งตลอดอายุขัย สรุปได้ว่า..
การก่อมะเร็งในปอดของบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่มวนต่ำกว่า 0.5%
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า มีวันหมดอายุไหม?
โดยปกติแล้ว ในฉลากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ระบุวันหมดอายุ แล้วก็ไม่ทราบได้ด้วยว่า น้ำยาบุหรี่ที่เราซื้อมานั้น มีอายุเท่าไหร่แล้วนับจากวันที่เริ่มผลิตออกมา
โดยปกติอายุไขของน้ำยาโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ราวๆ 2 ปี ซึ่งเป็นขวดน้ำยาที่ยังไม่ได้แกะหรือเปิดฝามาก่อน แต่ถ้าหากเปิดฝาทิ้งไว้ ก็จะเสื่อมอายุการใช้งานได้ไวมากขึ้น
นักสูบบุหรี่ไฟฟ้าหลายคนเข้าใจว่า การสตีฟน้ำยาทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆเป็นปี จะยิ่งช่วยให้น้ำยามีความนัว ความกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเข้าใจไม่ผิด แต่หากสตีฟไว้นานเกิน 2 ปี ของเหลวในน้ำยาจะมีการเสื่อมสภาพ มีสีเข้มจัด และมีกลิ่นหืนออกมา ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า น้ำยาที่เราซื้อมานั้นถูกสตีฟไว้แล้วเป็นระยะเวลาเท่าไรกันแน่
ทำไมเมื่อสตีฟไว้นานๆ แล้วน้ำยาบุหรี่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น?
เมื่อทิ้งน้ำยาบุหรี่ไว้เป็นระยะเวลานาน สารต่างๆที่ผสมกันในน้ำยาบุหรี่จะผสมรวมกันเป็นระดับโมเลกุล โดยมีสาร PG เป็นตัวทำละลาย น้ำยาที่ถูกสตีฟทิ้งไว้นานๆ น้ำยาจะมีความนวลนัว ความกลมกล่อมของน้ำยามากขึ้น แต่มิติของน้ำยาก็จะเริ่มหายไป การเปลี่ยนสีนั่นหมายถึงการบ่งบอกอายุของน้ำยา ที่ผสมผสานกันหนาแน่นมากขึ้น ทั้งหัวกลิ่นผสมอาหารที่รวมเข้ากันกับสารนิโคติน
แต่ในน้ำยาบางชนิด หัวกลิ่นผสมอาหารก็มีสีเข้ม อย่างเช่น หัวกลิ่นช็อกโกแลต หรือ คาราเมล รวมถึง หัวกลิ่นจำพวกยาสูบหลายกลิ่น จะมีสีที่เข้มอยู่แล้ว เมื่อนำมาผสมกับน้ำยาบุหรี่ ก็จะทำให้น้ำยามีสีที่เข้มตั้งแต่แรกด้วยเช่นกัน ดังนั้น นั้นยาที่สีเข้มก็ไม่ได้การันตีว่า ว่าผ่านการสตีฟมาระยะเวลานานแล้ว
ควรเก็บรักษาน้ำยาบุหรี่อย่างไร?
น้ำยาบุหรี่นั้นไม่ค่อยถูกกับแสงแดดเท่าไรนัก แต่เรื่องความร้อนนั้นจะช่วยเร่งเวลาในการสตีฟน้ำยาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่จะนำไปตากแดดมันก็ไม่ใช่วิธีที่ดี เนื่องจากแสงแดดนั่นทำปฏิกริยากับสารต่างๆในน้ำยา ทำให้น้ำยาเสื่อมสภาพเร็ว และมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์แทรกเข้ามา ซึ่งไม่ค่อยดีนัก
ดังนั้น วิธีการที่ดีควรจะเก็บไว้ในสถานที่มีอุณภูมิเย็นปกติ ไม่โดนแสงแดดหรือแสงไฟ หลายท่านคงนึกออกอย่างเดียวคือ นำไปแช่ในตู้เย็น ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีนัก เนื่องจากจะทำให้มีไอน้ำในขวดไปผสมปะปนกับน้ำยา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคันคอยิบๆ และสำลักควันได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ เก็บไว้ในห้องทึบแสงที่มีอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อน ไม่เย็น จนเกินไป
ควรใช้น้ำยาบุหรี่ อัตราส่วน PG VG เท่าไร?
เราควรเลือกใช้น้ำยาที่มีอัตราส่วน PG VG ที่เหมาะสมกับ บุหรี่ไฟฟ้าลูกรักคู่กายของเรา และ ฟิลลิ่งการสูบที่เราชื่นชอบ โดยเราจะแบ่งประเภทเป็น บุหรี่ไฟฟ้าแบบ Sub-ohm มอตยิงสด หรือ กล่องปรับวัตต์ กับ พอตไฟฟ้า นะครับ
ประเภทบุหรี่ไฟฟ้า | อัตราส่วน PG VG ที่เหมาะสม |
บุหรี่ไฟฟ้า | VG70 / PG30 |
พอตไฟฟ้า | VG50 / PG50 |
บุหรี่ไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเน้นในรูปแบบ Sub-ohm หรือการเล่นโอหม์ต่ำ ฟิลการสูบแบบ DL ที่เน้นความหนาแน่นของควันเป็นหลัก และรสชาติน้ำยาที่ยอดเยี่ยม จึงต้องเลือกน้ำยาฟรีเบสที่มีอัตราส่วน VG 60 ขึ้นไป
และในส่วนของ พอตไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นการสูบแบบ MTL ที่เน้นกลิ่นมากกว่ารสชาติและใช้กับ น้ำยาพอต หรือ น้ำยาซอลนิค ที่มีอัตราส่วนของ PG VG อยู่ที่ 50/50
เอาน้ำยาอื่นๆ มาผสมกัน ได้หรือไม่?
จริงๆแล้ว มันก็ไม่มีอะไรผิดไม่มีอะไรถูก เพราะเนื่องด้วยเป็นน้ำยาบุหรี่แบบเดียวกัน บางท่านชื่นชอบกลิ่นที่แปลกใหม่ เบื่อกับน้ำยากลิ่นเดิมๆ อย่าง ชื่นชอบกลิ่นองุ่น แต่ก็ชอบกลิ่นปลายของยาสูบด้วย และ กลิ่นองุ่นยาสูบ มันก็ยังไม่มีขาย และก็ ผสมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า เองไม่เป็นอีกด้วย จึงซื้อน้ำยาองุ่นกับน้ำยายาสูบมาผสม mix รวมกันเป็น องุ่นยาสูบ ก็สามารถทำได้
ซึ่งมันก็ไม่ผิด ไม่มีอะไรตายตัว แต่เราควรต้องคำนึงถึงเรื่องส่วนประกอบของน้ำยาบุหรี่ด้วย บางยี่ห่ออัตราส่วน VG เยอะ ซึ่งนำมาผสมกับอีกตัวที่ VG น้อย อาจจะส่งผลทำให้น้ำยามีความหนืดขึ้น จึงไม่สามารถใช้กับ พอตไฟฟ้า ได้ และบางทีการนำน้ำยามาผสมมั่ว อาจจะไม่ได้กลิ่นรส อย่างที่เราคิดก็ได้ อาจจะห่วยจนต้องเขวี้ยงทิ้งกันเลยก็ได้
การเลือกซื้อน้ำยาบุหรี่ให้คุ้มค่าคุ้มราคา
การเลือกซื้อน้ำยาให้คุ้มค่าคุ้มราคานั้น ก่อนอื่นเลย เราต้องรู้จักความชอบของตัวเองก่อน ว่าเราชอบการสูบแบบไหน ชอบรสชาติไหน กลิ่นไหน ใช้กับบุหรี่ไฟฟ้าประเภทอะไร หากเจอน้ำยาถูกใจ ถึงแม้ราคาแพงก็ตาม ดังวลีที่ว่า
“น้ำยาที่ถูกใจ ไม่มีคำว่าแพง”
ดังนั้น เราควรออกค้นหาตัวตนของเราให้เจอ แล้วหาน้ำยาที่ใช่สำหรับเรา จงเลือกน้ำยาที่มีคุณภาพ สมกับราคา และความต้องการของเรา
Discover more from Madcow E-liquid
Subscribe to get the latest posts sent to your email.
ปิดความเห็นแล้ว